Design

การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)

              การเรียนรู้แบบร่วมมือหรือการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative Learning) เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเรียนแบบมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยมีหลักการสำคัญคือ การให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มโดยยึดแนวคิดที่ว่า ความสำเร็จของสมาชิกทุกคนจะรวมเป็นความสำเร็จของกลุ่ม” (สุคนธ์ และคณะ, 2545) สืบเนื่องจากหลักการนี้ Roger (1997) ชี้ให้เห็นปัจจัยสำคัญประการ ได้แก่ Positive interdependence หรือการพึ่งพากันและกันในทางบวก และ Individual accountability คือ การมีส่วนในความรับผิดชอบในหน้าที่หนึ่งของกลุ่มการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ถือว่าผู้เรียนนำเอาประสบการณ์เดิมไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความรู้สึกหรือทักษะเข้ามาในชั้นเรียน และจะพัฒนาความรู้นั้นต่อไปขณะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานครูและสภาพแวดล้อม ดังนั้น ครูเป็นเพียงผู้ตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนแต่ละคน และเป็นผู้ช่วยให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงแนวคิด การเรียนรู้แบบร่วมมือมีความสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระหว่างกลุ่มผู้เรียนซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีแนวคิดที่ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยผ่านการพิจารณาแนวคิดของเพื่อนๆ ผ่านการสะท้อนความคิดเห็น และให้เหตุผลกับแนวคิดของตนเอง (วรรณทิพา, 2541)  การเรียนรู้แบบร่วมมือไม่ใช่เป็นการจัดให้ผู้เรียนนั่งทำงานเป็นกลุ่ม แบบที่เรียกกันว่า “Group work” แต่ต้องอาศัยกระบวนการของกลุ่ม ซึ่งผู้เรียนต้องเข้าใจและตระหนักในหน้าที่และความสำคัญของตนเองที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่ม (Gillies, 2004) งานหรือปัญหาที่ให้นักเรียนร่วมมือกันทำ ควรมีลักษณะที่กระตุ้นให้สมาชิกได้มีโอกาสสื่อสาร อภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันและสร้างเป็นองค์ความรู้ของกลุ่ม ซึ่งจะนำมาซึความสำเร็จร่วมกัน

เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
           การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีเทคนิคต่าง ๆ มากมาย สุคนธ์และคณะ (2545)ได้กล่าวถึงเทคนิคต่างๆดังต่อไปนี้ เทคนิคการต่อเรื่องราว (Jigsaw) เทคนิคการจัดทีมแข่งขัน (TGT: Team Games Tournament) เทคนิคแบ่งปันความสำเร็จ (STAD: Student Teams Achievement Division) เทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI: GroupInvestigation) เทคนิคคู่คิด (Think-Pair-Share) เทคนิคคู่คิดสี่สหาย (Think-Pair-Square) เทคนิคคู่ตรวจสอบ(Pairs Check) เทคนิคการสัมภาษณ์ 3ขั้นตอน (Three-Step Interview) เทคนิคร่วมกันคิด (Numbered HeadsTogether) เทคนิคเล่าเรื่องรอบวง (Roundrobin) เทคนิคโต๊ะกลม (Roundtable) เทคนิคการเรียนร่วมกัน (LearningTogether) และเทคนิคช่วยกันคิดช่วยกันเรียน (TAI: Team Assisted Individualization) ในที่นี้ขอกล่าวถึงเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่เรียกว่า เทคนิคการต่อเรื่องราว (Jigsaw)

รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style)
สรัญญา รุจิเรขเรืองรอง*รูปแบบการเรียนรู้ เป็นลักษณะเฉพาะของคนแต่ละคน ซึ่งบูรณาการ ลักษณะทางกายภาพ อารมณ์และความรู้สึกนึกคิดปรากฏให้เห็นว่า คนแต่ละคน เรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไรเนื่องจากคนทุกคนมีจุดเด่น จุดด้อย ต่างกัน และมีความชอบที่แตกต่างกัน บางคนเรียนได้ดีด้วยการฟัง บางคนเรียนได้ดีด้วยการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ (จดบันทึก) บางคนชอบลงมือปฏิบัติ หลายคนเรียนรู้ได้ดีเมื่อเข้าอยู่เป็นกลุ่ม บางคนชอบทำงานคนเดียว… จึงไม่มีวิธีใดดีที่สุดสำหรับคนทุกคนนอกจากนี้ สิ่งเร้าต่าง ๆ อันได้แก่ สภาพแวดล้อม อารมณ์ สภาพทางสังคม เศรษฐกิจสถานะของครอบครัว ลักษณะทางกายภาพ และสภาวะทางจิตใจ ยังมีผลต่อรูปแบบการเรียนรู้ของบุคคลแต่ละคนการศึกษาเรื่องรูปแบบการเรียนรู้ เป็นการศึกษาพฤติกรรมที่สังเกตได้ คล้ายบุคลิกภาพมากกว่าศึกษาพฤติกรรมตามพื้นฐานทางจิตวิทยา จำไว้ว่า รูปแบบการเรียนรู้เป็นพฤติกรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนได

ทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้
       จำแนกตามพฤติกรรมที่แสดงในชั้นเรียนทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้ Learning Style จำแนกตามแบบการคิด(สภาพความคิดของบุคคล ที่มีผลมาจากสภาพแวดล้อมลักษณะทางกายภาพ ฯลฯ)รูปแบบการเรียนรู้ จำแนกตามพฤติกรรมที่แสดงในชั้นเรียน เช่น :-
ทฤษฎีของ Grasha & Reichman
1. แบบแข่งขัน - ชอบเอาชนะเพื่อน
2. แบบอิสระ - เชื่อมั่น
3. แบบหลีกเลี่ยง - ไม่สนใจ
อาจารย์ประจำ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีมหานคร
รวมหน่วยต่าง ๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
4. แบบพึ่งพา - อาจารย์และเพื่อน เป็นแหล่งความรู้
5. แบบร่วมมือ - ร่วมมือแสดงความเห็น ทั้งในและนอกชั้นเรียน
6. แบบมีส่วนร่วม - จะพยายามมีส่วนร่วมให้มากที่สุด ในกิจกรรมการเรียน (ในชั้นเรียน)แต่จะไม่สนใจกิจกรรมนอกหลักสูตรเลย
รูปแบบการเรียนรู้ จำแนกตามแบบการคิด เช่น :-
ทฤษฎีของ วิทคิน และคณะ
1. แบบพึ่งพาสภาพแวดล้อม (Field dependent)
2. แบบไม่พึ่งพาสภาพแวดล้อม (Field independent)
ทฤษฎีของ คาร์ล จี จุง
แบ่งคนเป็น แบบ
1. พวกเก็บตัว (Introver)
2. พวกแสดงตัว (Extrover)
ทฤษฎีของ Kagan และคณะ แบ่งวิธีคิดของมนุษย์เป็น ประเภท
1. คิดแบบวิเคราะห์ Analytical Style รับรู้สิ่งเร้าในรูปของส่วนย่อยมากกว่าส่วนรวม นำส่วนย่อยมาประกอบเป็นความนึกคิด
2. คิดแบบโยงความสัมพันธ์ Relational Style พยายามโยงสิ่งต่าง ๆ ให้มาสัมพันธ์กัน
3. แบบจำแนกประเภท Categorical Style จัดสิ่งเร้าเป็นประเภทตามความรู้หรือประสบการณ์ โดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสิ่งเร้านั้น
ทฤษฎีของ Honey & Mumford แบ่งคนเป็น รูปแบบ ดังนี้
รับรู้ประสบการณ์ใหม่ Pragmatist Activist
นักปฏิบัติ นักกิจกรรม
ประยุกต์สู่การปฏิบัติ พิจารณาไตร่ตรองTheorist Reflector
นักทฤษฎี นักไตร่ตรอง นำไปสร้างเป็นทฤษฎี
สรุป -
รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style) เป็นบุคลิกของนักศึกษาที่อธิบายว่า
นักศึกษาเรียนอย่างไรที่จะทำให้เข้าใจเนื้อหาวิชาได้ดีที่สุด
นักศึกษามีพฤติกรรมเฉพาะบุคคลอย่างไรเก็บตัว แสดงตัวรอบคอบ หุนหันพลันแล่นตัดสินใจด้วยญาณวิถี ตัดสินใจด้วยเหตุผล
นักศึกษามีความสามารถในการรับและคงไว้ซึ่งสิ่งที่เรียนอย่างไร
เป็นยุทธวิธีที่นักศึกษาชอบใช้ในการเรียน
เป็นลักษณะที่ปรากฏให้เห็นได้ว่า คนแต่ละคนเรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไร*
Thanks for: http://www.mbs.mut.ac.th/paper/pdf/32.pdf .19กันยายน 2552
                  •:*´¨`*:•. *.:。✿*゚・✿..:* *.:。✿*゚・✿..:* *.:。✿*゚¨゚✎・ ..:* *.:。✿*゚¨゚✎・ ..:*

ทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญา (Multiple Intelligence)


1.ความหมาย ประวัติความเป็นมาของทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญา
     ทิศนา แขมมณี (2545 : 85) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญาว่า ผู้บุกเบิกทฤษฎีการสอนแบบนี้ คือ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) โดยเขาได้เขียนหนังสือเรื่อง “Frames of Mind : The Theory of Multiple Intelligences” ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง แนวคิดของเขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกี่ยวกับ เชาวน์ปัญญา” เป็นอย่างมาก และกลายเป็นทฤษฎีที่กำลังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน ในปัจจุบันทฤษฎีเชาวน์ปัญญาแบบเดิมนั้น มักจะเน้นความสามารถในเชิงภาษา คณิตศาสตร์ และความคิดเชิงตรรกะ ดังจะเห็นได้จากการสอบคัดเลือกทั่วไป ทั้งวิชาวัดแววความเป็นครูในการสอบแอดมิชชั่นเข้ามหาวิทยาลัย หรือ ข้อสอบบรรจุเข้ารับราชการ มักจะเน้นองค์ประกอบ ด้านนี้เป็นหลัก และถือว่าเป็นสิ่งกำหนดระดับเชาวน์ปัญญาของบุคคลไปตลอดชีวิต เพราะทฤษฎีเดิมถือว่า เชาวน์ปัญญาจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต แต่การ์ดเนอร์ ได้ให้ความหมายของเชาวน์ปัญญาใหม่ว่า (Gardner. 1983 อ้างใน ทิศนา แขมมณี. 2545 : 86)

ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่างๆ หรือการ
สร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมใน
แต่ละแห่ง รวมทั้งความสามารถในการตั้งปัญหาเพื่อจะหาคำตอบและ
เพิ่มพูนความรู้
การ์ดเนอร์นั้น มีความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับสติปัญญาที่สำคัญ ประการ คือ
1.เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษา และทางคณิตศาสตร์เท่า นั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง ประเภทด้วยกัน (ดังจะได้กล่าวต่อไป) แต่การ์ดเนอร์เองก็กล่าวว่าอาจจะมีมากกว่า ประเภท โดยคนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านแตกต่างกันไป ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถที่แตกต่างกันออกไปนี้ เมื่อผสมผสานออกมาแล้วจะก่อให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวบุคคล
2.เชาวน์ปัญญาไม่ใช่สิ่งที่มั่นคงถาวรตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย หากแต่สามารถเปลี่ยน แปลงได้ตามสภาพแวดล้อม และการส่งเสริมที่เหมาะสม
การ์ดเนอร์เองได้อธิบายถึงเชาวน์ปัญญาไว้ว่า ประกอบด้วยความสามารถ 3ประการ ได้แก่
      1.ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพการณ์ต่างๆ ที่เป็นไปตามธรรมชาติ และตามบริบททางวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล
      2.ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพ และสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรม
      3.ความสามารถในการแสวงหาหรือตั้งปัญหาเพื่อหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้

2.องค์ประกอบของทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญา (เชาวน์ปัญญา ด้าน)
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าเชาวน์ปัญญาของบุคคลไว้ 8ด้าน โดย พงษ์ศักดิ์ แป้นแก้ว (2546 : 109 – 114) ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดดังนี้

2.1 สติปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)สติปัญญาด้านภาษา เป็นความสามารถในการเลือกใช้ถ้อยคำภาษาที่แสดงออกในการสื่อความหมาย โดยมีสมองส่วน Brocals Area ซึ่งเป็นสมองส่วนหน้า ควบคุมการเรียบเรียงประโยคออกมาเป็นประโยคที่สื่อความตามหลักภาษา หากสมองส่วนนี้อาจจะทำให้สื่อสารกับผู้อื่นไม่รู้เรื่อง แต่ยังฟังหรืออ่านสิ่งต่างๆ แล้วเข้าใจได้อยู่
2.2 สติปัญญาในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical–Mathematical Intelligence)สติปัญญาในด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ และด้านภาษาที่กล่าวไปข้างต้น มักจะถือว่าเป็นสติปัญญาขั้นทั่วไปของมนุษย์ มักจะวัดผ่านแบบทดสอบต่างๆ เชาวน์ปัญญาในด้านนี้มีสมองส่วนควบคุมกลไกในการแก้ปัญหาในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ และการคำนวณทางคณิตศาสตร์ การ์ดเนอร์กล่าวถึงสติปัญญาในด้านนี้ว่า มีองค์ประกอบ ด้าน คือ
1. ด้านการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ (mathmatics)
2. ด้านวิทยาศาสตร์ (Science)
3. ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logic)
2.3 สติปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily – Kinesthetic Intelligence)สติปัญญาในด้านนี้เป็นความสามารถในการใช้ส่วนของร่างกายเพื่อการแสดงออก สร้าง สรรค์ หรือสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างคล่องแคล่ว ผู้ที่มีเชาวน์ปัญญาในด้านนี้จะมีสมองส่วนที่เรียกว่า Cortex โดยสมองส่วนหนึ่งจะเป็นหลักในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย อีกด้านหนึ่งไขว้กัน (ขวาควบคุมซ้าย ซ้ายควบคุมขวา) คนที่ถนัดขวาจะมีการพัฒนาที่ชัดเจนมาตั้งแต่เด็ก
2.4 สติปัญญาด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์ (Visual/Spatial Intelligence)เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา และแสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ การวาดภาพ การสร้างภาพ การคิดเป็นภาพ การเห็นรายละเอียด การใช้สี การสร้างสรรค์งานต่าง ๆ และมักจะเป็นผู้มองเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ เชาวน์ปัญญาในด้านนี้เป็นเชาวน์ปัญญาที่มนุษย์มีมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะมนุษย์วาดภาพเพื่อสื่อสารความหมายมาตั้งแต่สมัยนั้น
2.5 สติปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวาตอนบน บุคคลที่มีสติปัญญาทางด้านนี้ จะแสดงออกทางความสามารถในด้านจังหวะ การร้องเพลง การฟังเพลงและดนตรี การแต่งเพลง การเต้น และมีความไวต่อการรับรู้เสียงและจังหวะต่างๆ โดยที่บางครั้งอาจดูเหมือนไม่มีความสามารถ เช่น เล่นเปียโนได้ แต่ไม่สามารถเล่นเครื่องดนตรีอื่นๆ ได้ หรือ บางครั้งในการเรียนทฤษฎีดนตรี อาจจะสอบตก แต่ร้องเพลงได้ไพเราะ เป็นต้น
2.6 สติปัญญาด้านการเข้ากับผู้อื่น (Interpersonal Intelligence)เชาว์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนหน้า หากสมองด้านนี้ถูกทำลายจะทำให้เกิดปัญหาในการเข้าสังคม ความสามารถที่แสดงออกทางด้านนี้ เห็นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น การแก้ปัญหาความขัดแย้ง และการจัดระเบียบ ผู้มีความสามารถทางด้านนี้ มักเป็นผู้ที่มีความไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น 
2.7 สติปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)บุคคลที่สามารถในการเข้าใจตนเอง มักเป็นคนที่ชอบคิด พิจารณาไตร่ตรอง มองตนเอง และทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเอง มักเป็นคนที่มั่นคงในความคิดความเชื่อต่าง ๆ จะทำอะไรมักต้องการเวลาในการคิดไตร่ตรอง และชอบที่จะคิดคนเดียว ชอบความเงียบสงบ สติปัญญาทางด้านนี้ มักเกิดร่วมกับสติปัญญาด้านอื่น มีลักษณะเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชาว์ปัญญา อย่างน้อย ด้านขึ้นไป ผู้ที่ไม่มีสติปัญญาในด้านนี้ มักจะมีบุคลิกเฉื่อยชา เชื่องช้า ไม่ยินดียินร้ายและเศร้าซึม
2.8 สติปัญญาด้านการเป็นนักธรรมชาติวิทยา (Nationalism Intelligence)เชาวน์ปัญญาในด้านนี้ การ์ดเนอร์ได้เพิ่มหลังจากที่ตีพิมพ์หนังสือ “Frames of Mind : The Theory of Multiple Intelligences” แล้ว แต่ก็ได้กล่าวถึงลักษณะของเชาวน์ปัญญาเหล่านี้ในภายหลังว่า เชาวน์ปัญญาด้านนี้เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่ สิ่งต่าง ๆ รอบตัว บุคคลที่มีความสามารถทางนี้ มักเป็นผู้รักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ ตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัว และมักจะชอบและสนใจสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น